IMG-LOGO
หน้าแรก   >   สถานที่ท่องเที่ยว   >   อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

ทะเล - 31/07/2020 0 Views 0 Comment
IMG

ที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตั้งอยู่ หมู่ 5 บ้านฉางหลาง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง 92150 อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีพื้นที่ครอบคลุมอยุ่ในท้องที่อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ทางทะเลอันดามัน ประกอบด้วยป่าชายเลน หญ้าทะเล เกาะแก่ง มีหาดทรายขาวนวลเรียงยาวไปตามผืนแผ่นดินกว่า 20 กิโลเมตร และสนทะเลตามธรรมชาติอันสวยงาม อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 144,292.35 ไร่ หรือ 230.87 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2522 นายประมูล รักษาแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้กันตัง กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีบันทึกลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2522 เสนอกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ว่า ได้ทำการออกสำรวจป่าเพื่อทำการวิจัยนิเวศวิทยาในท้องที่ตำบลกันตัง จังหวัดตรัง พบว่า บริเวณหาดแหลมหยงลำเป็นหาดทรายขาวสวยงาม มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร มีสนทะเลขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเหมาะที่จะจัดให้เป็นวนอุทยาน เป็นที่พักผ่อนของประชาชน กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 2502/2522 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2522 ให้ นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจซึ่งปรากฏว่า สภาพพื้นที่เหมาะแก่การจัดตั้งเป็นวนอุทยานได้ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 378/2523 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 ให้ นายประมูล รักษาแก้ว ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานแหลม หยงลำ อีกหน้าที่หนึ่ง ต่อมาวนอุทยานแหลมหยงลำได้มีหนังสือที่ กส.0708(ลล)/1 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2523 และบันทึกที่ กส.0708(ลล)/พิเศษ ลงวันที่ 11 กันยายน 2523 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นวนอุทยานแหลมหยงลำเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 เพื่อพิจารณากำหนดที่ดินบริเวณแหลมหยงลำเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรปรับปรุงแนวเขตใหม่ให้เหมาะสมโดยจัดตามแนวเขตธรรมชาติให้มากที่สุด กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการสำรวจแนวเขตพื้นที่ดังกล่าว และได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 4/2523 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2523 ได้มีมติเห็นสมควรให้กำหนดพื้นที่แหลมหยงลำ หาดยาว หาดสั้น หาดเจ้าไหม และหาดปากเมง เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าคลองไหโละ ป่าคลองปอ และป่าคลองกันตัง ในท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา ตำบลบ่อน้ำร้อน ตำบลบางสัก ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง พื้นที่ 144,300 ไร่ หรือ 230.88 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 36 ของประเทศไทย ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติป่าคลองไหโละ ป่าคลองปอ และป่าคลองกันตัง ในท้องที่ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนที่152 ลงวันที่ 13 กันยายน 2532 จำนวน 0.012 ตารางกิโลเมตร เพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียนบ้านหาดยาว ของสำนักงานประถมศึกษาอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมในปัจจุบันคงเหลือเพียง 230.868 ตารางกิโลเมตร ขนาดพื้นที่ 144292.34 ไร่ หน่วยงานในพื้นที่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จม.1 (บ่อน้ำร้อน) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จม.2 (หยงลิงค์) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จม.3 (เกาะกระดาน) หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จม.4 (ถ้ำผึ้ง) ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7 องศา 17 ลิบดา - 7 องศา 32 ลิบดา เหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 13 ลิบดา - 99 องศา 29 ลิบดา มีอาณาเขตทิศเหนือจดเขาจองจันทร์ อำเภอกันตัง คลองเมงและคลองลำยาวตำบลไม้ฝาด อำเภอ สิเกา จังหวัดตรัง ทิศใต้จดทะเลอันดามัน เกาะลิบง และปากน้ำกันตัง ทิศตะวันออกจดควนดินแดง ควนเม็ดจุน ควนลุ และควนแดง ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน เกาะไหง เกาะม้าของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมสามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ดินชายฝั่งทะเล รวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน เกาะเชือก เกาะเมง เกาะปลิง และเกาะเจ้าไหม บริเวณชายฝั่งนี้ประกอบด้วยเขาหินปูนสูงชัน ทางตอนเหนือด้านตะวันออกมีเทือกเขาจองจันทร์ เทือกเขาควนเม็ดจูน เทือกเขาควนแดง ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสายที่มารวมกันเป็นคลองบางสัก ไหลลงสู่แม่น้ำตรัง พื้นน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 137.22 ตารางกิโลเมตร เป็นห้วงน้ำลึก มีความลึกเฉลี่ย 20 เมตร ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับชุ่มชื้น ได้รับอิทธิพลจากลมมรุสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสองด้าน จึงทำให้ฝนตกชุกตลอดปี ทำให้เกิดฤดู 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน เด่นชัดกว่าฤดูหนาว โดยฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน ส่วนฤดูฝนเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม อากาศร้อนชื้นถึงชุ่มชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนมากว่า 2,100 มิลลิเมตรต่อปี พืชพรรณและสัตว์ป่า สังคมพืชที่พบในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมสามารถจำแนกออกได้เป็น ป่าดงดิบ ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งตอนในบริเวณเขาน้ำราบ บ่อน้ำร้อน ทิศตะวันออกของหาดทรายเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งบนเกาะมุกต์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางวาด ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ตำเสา หลุมพอ คอแลน ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหวายและเถาวัลย์ ป่าเขาหินปูน พบด้านทิศตะวันตกของเกาะมุกต์ เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะปลิง เขาแบนะ เขาหยงหลิง เขาเมง และเขาเจ้าไหม ประกอบด้วยพืชพรรณเฉพาะพื้นที่ เช่น จันทน์ผา เป้ง สลัดได ยอป่า เตยเขา ปรงเขา กล้วยไม้ชนิดต่างๆ และบอน เป็นต้น ป่าชายหาด ขึ้นอยู่เป็นบริเวณแคบๆ ตามชายหาดและโขดหินที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น หู กวาง สนทะเล กระทิง เม่า พื้นที่ราบต่อจากชายหาดเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยไม้แคระแกร็น พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ เคี่ยม นนทรี เสม็ดแดง ยอป่า หนามแท่ง ช้องแมว พืชชั้นล่างเป็นพวกหญ้าชนิดต่างๆ ป่าชายเลน พบในพื้นที่ถัดจากชายหาดเข้ามาในบริเวณหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติตลอดแนวจากหาดปากเมงถึงหาดเจ้าไหม และมีการกระจายอยู่ตามอ่าวของเกาะมุกต์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โปรง ตะบูน ตะบัน ถั่ว ตาตุ่มทะเล เป้งทะเล เหงือกปลาหมอ จาก และหวายลิง เป็นต้น สังคมพืชน้ำ ได้แก่ หญ้าทะเล และสาหร่ายทะเล ซึ่งอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมเป็นแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 3,975 ไร่ ระหว่างแหลมหยงหลิงและเกาะมุกต์ จากการสำรวจพบหญ้าทะเลขึ้นอยู่ 8 ชนิด ได้แก่ หญ้าเต่า หญ้าชะเงาใบยาว หญ้าชะเงาใบสั้นสีน้ำตาล หญ้าชะเงาใบสั้นสีเขียว หญ้าชะเงาใบสั้นปล้องยาว หญ้าใบสน หญ้าผมนาง และหญ้าใบมะกรูด สัตว์ที่พบอยู่ในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจำแนกออกได้เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบรวม 51 ชนิด ได้แก่ พะยูน เลียงผา ค่างดำ ค้างแว่นถิ่นใต้ เก้ง กระจงเล็ก เสือไฟ แมวดาว นากเล็กเล็บสั้น ชะมดแผงหางดำ กระเล็นขนหางปลายหูสั้น หนูฟานสีเหลือง และค้างคาวชนิดต่างๆ ฯลฯ นก พบรวม 137 ชนิด ได้แก่ นกกระสาคอดำ นกตะกรุม นกยางจีน นกทะเลขาเขียวลายจุด นกนางนวลแกลบพันธุ์จีน นกกก นกแต้วแล้ว และ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน พบ 29 ชนิด ได้แก่ เต่าบึงหัวเหลือง จิ้งจกหางเรียบ ตุ๊กแกหางเรียบ กิ้งก่าสวน แย้จุด เหี้ย จิ้งจกเรียวท้องเหลือง งูเหลือม งูไซ และงูพังกา เป็นต้น br> สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบ 9 ชนิด ได้แก่ จงโคร่ง คางคกบ้าน กบอ่อง ปาดบ้าน อึ่งอ่างบ้าน เป็นต้น สัตว์น้ำ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมเป็นแหล่งระบบนิเวศที่สำคัญทั้งระบบนิเวศป่าชายเลน หญ้าทะเล และแนวปะการัง จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย อาหาร หลบภัย และอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น ปูแสม ปูม้า หอยนางรม หอยตะเภา หอยชักตีน ปลาเก๋า ปลาผีเสื้อ และโลมา เป็นต้น การเดินทาง รถยนต์ จากจังหวัดตรังไปตามทางหลวงจังหวัดตรังหมายเลข 4046 (ตรัง – สิเกา) ถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4162 สู่หาดปากเมงเป็นระยะทาง ประมาณ 40 กิโลเมตร จากหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบชายหาดอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม (บริเวณหาดฉางหลาง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 47 กิโลเมตร เรือ การเดินทางไปตามเกาะต่างๆ ให้ติดต่อเช่าเหมาเรือที่ท่าเรือปากเมง ท่าเรือหาดยาว และท่าเรือควนตุ้งกู ท่าเรือปากเมงเป็นท่าเรือหลักที่จะไปยังเกาะต่างๆ คือ เกาะกระดาน เกาะมุกต์ เกาะแหวน และเกาะเชือก โดยมีที่พักในหมู่เกาะเหล่านี้ 3 แห่ง คือ เกาะกระดาน เกาะมุกต์ และเกาะไหง ระยะทางจากหาดปากเมงถึงตรัง 40 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที มีเรือให้เช่าโดยลักษณะการเช่าเป็นวัน ท่าเรือหาดยาว เป็นท่าเรือที่ตั้งอยู่ถนนสายตรัง-กันตัง ข้ามฟากไปท่าส้ม แล้ววิ่งตามทางไปยังหาดเจ้าไหม ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วลงไปยังท่าเรือไปเกาะต่างๆ ได้

ตำแหน่งที่ตั้ง


รูปภาพ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Copyright © 2020 Copyright © All rights reserved | This website is made with by trangcity.co