วัดเขาพระยอด เป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายช้างหมอนชาวบ้านจึงเรียกว่า เขาช้างซุ่ม บนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของตัวอำเภอห้วยยอดจากมุมสูงได้อย่างชัดเจน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากตัวอำเภห้วยยอด ประมาณ ๑ กิโลเมตร ไปตามทางถนนเพชรเกษม ตรัง -กระบี่ บนยอดเขา เป็นจุดชมวิว ทิวทัศน์ มีเจดีย์บัวเงินบัวทองซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะ ของนักท่องเที่ยวทั่วไป ภูเขาพระยอด ยังเป็นสถานปฏิบัติธรรมที่เพิ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ราวปี พ.ศ. 2545 ทำให้มีประชาชนและนักท่องเที่ยว ทั้งใน จ.ตรัง จากต่างจังหวัด หรือจากต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย จีน ไต้หวัน เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงวันหยุด และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เขาพระยอกเป็นเชิงเขาขนาดเล็ก สามารถมีความเงียบสงบ และมองเห็นทิวทัศน์ของตัวอำเภอห้วยยอดจากมุมสูงได้ โดยสภาพทั่วไปของภูเขาแห่งนี้ รายล้อมไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ ได้มีพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ร่วมกันสร้าง "หลวงพ่อยอด" บนยอดเขาโดยเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย เนื้อโลหะทองเหลือง หน้าตักกว้าง ๕๐ นิ้ว สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบริเวณ "เขาพระยอด" มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นศาลเทพศักดิ์สิทธิ์รวม ศาลพระภูมิศักดิ์สิทธิ์รวม ฐานไตรมงคล พระพุทธบาทจำลอง หรือวิหาร ซึ่งใช้ประดิษฐานพระเกจิอาจารย์สำคัญทั่วประเทศ รวมทั้งห้องเก็บวัตถุมงคล และสมบัติมีค่าของแผ่นดิน แต่ที่เห็นจะสำคัญที่สุดและตั้งเด่นสง่ายอยู่บนจุดสูงสุดก็คือ "เจดีย์บัวทองภูเขาพระยอด" เจดีย์องค์นี้มีฐานล่างเป็นทรงกลมธรรมจักรธรรมชาติแนวนอน และมีเจดีย์น้อย ๘ องค์ ประจำเสารอบนอก ๑๒ ต้น ประจำราศีนักษัตรจัดเป็นเสา ๔ ชุด ดิน น้ำ ลม ไฟ ทรงกลางแปดเหลี่ยม ควบคุมทิศทั้ง ๘ ประกอบด้วย พญานาค ๕ ตน และประดับด้วยเหรียญกษาปณ์ทองตลอดทั้งองค์ ส่วนภายในบรรจุของสำคัญมากมาย เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ พระธาตุเหล็กไหล เบี้ยไทยพดด้วงรัชกาลที่ ๓ รวมถึงเงินตราสกุลต่างๆ จำนวนประมาณค่ามิได้ ด้านบนประดิษฐานพลับพลาที่ประทับของบูรพกษัตราธิราช นอกจากนั้น ยังมีการสร้างแผ่นศิลาจารึก พระราชกรณียกิจพอสังเขปด้วยสำหรับฐานล่างองค์เจดีย์ จะเป็นทรงเรือ เสมือนทรงเรือประพาสป่า เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร ขณะที่บริเวณด้านล่างสุด จะมีพระพุทธรูปประจำองค์เจดีย์ และเป็นสถานที่ฝึกเรียนสวดมนต์ หรือจุดเดินธาตุรักษาสุขภาพด้วยตัวเองถัดออกไปจะเป็นเจดีย์ ๕๒ ฐาน ที่เสมือนห้องพระที่ใหญ่ที่สุดในแผ่นดินสยาม เพื่อประดิษฐานองค์พระประจำวัน เดือน เกิด และยังมีมณฑปประจำฐานเจดีย์ ๒๑๕ มณฑป เพื่อชมเรื่องราวพระพุทธศาสนา และภาพวรรณคดี รวมทั้งศึกษาวิชาไปวัด บทสวดมนต์ การเจริญธาตุ และรักษาสุขภาพด้วยตัวเอง ท่ามกลางความร่มรื่นของพืชพันธุ์ไม้ท้องถิ่น
Your email address will not be published. Required fields are marked *